วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

สำนวนภาษา

สำนวนภาษา หมายถึง กลุ่มคำที่ใช้ในความหมายหลายทาง


ถ้าเป็นการกล่าวเพื่อให้ถ้อยคำไพเราะสละสลวย ก็เรียกว่า ถ้อยคำสำนวน
ถ้ากล่าวในเชิงเปรียบเทียบ โดยการแปลความหมาย หรือ ตีความหมายให้เข้ากับเนื้อเรื่อง ก็เรียกว่า คำพังเพย
ถ้ากล่าวในเชิงสั่งสอนให้ปฏิบัติตาม และเป็นสิ่งที่ดี เรียกว่า สุภาษิต



ตัวอย่าง
ตัวอย่างสำนวนภาษา ( ลักษณะคล้ายคำซ้อน )
- ทำมาหากิน
- เจ็บไข้ได้ป่วย
- ถ้วยโถโอชาม
- ทำมาหากิน
- ทำไร่ไถนา
- ต้นไม้ต้นหญ้า
- ตัวเปล่าเล่าเปลือย
- รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ
- บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น
- ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด
- ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น
- น้ำขุ่นอยู่ใน น้ำใสอยู่นอก
- เข้าด้ายเข้าเข็ม
- ชิงสุกก่อนห่าม





ตัวอย่างคำพังเพย
- กระต่ายตื่นตูม
- ไก่ได้พลอย
- ขิงก็รา ข่าก็แรง
- เข็นครกขึ้นภูเขา
- ขมิ้นกับปูน
- คดในข้องอในกระดูก
- คางคกขึ้นวอ
- ใจดีสู้เสือ
- ชิงสุกก่อนห่าม
- ดินพอกหางหมู
ตัวอย่างสุภาษิต
- ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น
- ความสามัคคีของหมู่คณะ ทำให้เกิดสุข
- เมื่อน้อยให้เรียนวิชา ให้หาสินเมื่อใหญ่

รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี ผลการทดสอบการเรียนสำนวน สุภาษิต

จากการที่ให้ความเป็นมาของสำนวน สุภาษิต คำพังเพย นอกจากนี้ยังสามารถจำแนกคำแต่ละประเภทออกจากกัน พร้อมกับทั้งให้ความหมายของสำนวน สุภาษิต คำพังเพยเหล่านี้ ยกตัวอย่างเช่น


คำพังเพย
ความหมาย
กัดก้อนเกลือกิน
ทุกข์ยาก
แข็งข้อ
ตั้งตัวเป็นสัตรู
คางเหลือง
เกือบตาย
เข้าด้ายเข้าเข็ม
เวลาสำคัญใกล้จะสำเร็จ
ผ้าขี้ริ้วห่อทอง
คนมั่งมีแต่ทำตัวซอมซ่อ

แบบฝึกหัด
จงจับคู่สำนวนต่อไปนี้ให้สัมพันธ์กัน
..........1. ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก
..........2. คมในฝัก
..........3. คอเป็นเอ็น
..........4. ผ้าขี้ริ้วห่อทอง
..........5. คิดบัญชี
..........6. พายเรือในอ่าง
..........7. หอกข้างแคร่
..........8. ปิดทองหลังพระ
..........9. ใกล้เกลือกินด่าง
..........10. เต่าใหญ่ไข่กลบ

ก. แก้แค้น
ข. พูดวกวน
ค. ดีแต่ทำไม่ได้
ง. สิ่งที่เป็นภัยอยู่ใกล้ตัว
จ. ไม่เห็นคุณค่าของสิ่งที่อยู่ใกล้
ฉ. เถียงไม่ยอมลดละ
ช. พยายามปิดบังความผิดของตน
ซ. คนทั่งมีแต่ทำตัวซอมซ่อ
ฌ. ทำดีโดยไม่มีใครเห็น
ญ. เก่งแต่ไม่โอ้อวด



สำนวน กระต่ายตื่นตูม

นอกจากสำนวน สุภาษิต คำพังเพยแล้ว ยังมีคำอีกจำพวกหนึ่งที่น่าจะศึกษาหาความรู้ นั่นก็คือ คำอุปมาอุปไมย
อุปมา หมายถึง การอ้างเอามาเปรียบเทียบ
อุปไมย หมายถึง สิ่งที่ควรจะหาสิ่งอื่นมาเปรียบเทียบ

ตัวอย่างคำอุปมาอุปไมย
สวยเหมือนนางฟ้า
สวย เป็นอุปไมย
นางฟ้า เป็นอุปมา

อุปมา
อุปไมย
คำเปรียบเทียบ


ตัวอย่างคำอุปมาอุปไมย
- กองเป็นภูเขาเลากา
- ขมเหมือนบอระเพ็ด
- งงเป็นไก่ตาแตก
- คันเหมือนตำแย
- ดำเหมือนตอตะโก
- ดำเหมือนถ่าน
- ดีใจเหมือนได้ขึ้นสวรรค์
- ดุเหมือนเสือ
- ตัวสั่นเป็นเจ้าเข้า
- เงียบเหมือนเป่าสาก
- หลับเป็นตาย
- องอาจดั่งพญาราชสีห์

บทที่ 1
คำพ้อง
หมายถึง คำที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งเหมือนกัน อาจเป็นรูปเขียน เสียง หรือความหมายก็ได้
คำพ้อง แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ได้แก่
. คำพ้องรูป หมายถึง คำที่เขียนเหมือนกัน แต่อ่านออกเสียงไม่เหมือนกัน และมีความหมายที่แตกต่างกัน เวลาอ่านจะต้องสังเกตความหมายของคำในประโยคจึงจะอ่านได้ถูกต้อง เช่น
นางรม อ่านว่า นางรม หมายถึง ชื่อหอยชนิดหนึ่ง
อ่านว่า นางรม หมายถึง ชื่อเห็ดชนิดหนึ่งมีสีขาวหรือสีเทา
ปาเต๊ะ อ่านว่า ปา-เต๊ะ หมายถึง ชื่อผ้าโสร่งชนิดหนึ่ง
อ่านว่า ปา-เต๊ะ หมายถึง ชื่อตำแหน่งขุนนางชวา

๒. คำพ้องเสียง หมายถึง คำที่อ่านออกเสียงเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน และมีความหมายต่างกัน
กาญจน์ อ่านว่า กาน หมายถึง ทอง
กานต์ อ่านว่า กาน หมายถึงเป็นที่รัก
กานท์ อ่านว่า กาน หมายถึงบทกลอน
การ อ่านว่า กาน หมายถึง งาน เรื่อง ธุระ สิ่งหรือเรื่องที่ ทำ
๓. คำพ้องความหมาย หมายถึง คำที่มีความหมายเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน เช่น
สุริยา หมายถึง พระอาทิตย์
รวี หมายถึง พระอาทิตย์
ทินกร หมายถึง พระอาทิตย์